หลังอาหารเช้า จุดแรกที่เราจะไปคือพิพิธภัณฑ์มรดกพื้นบ้านแห่งชาติ ซึ่งอุทิศให้กับการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านของภูฏาน อาคารสมัยศตวรรษที่ 19 ซึ่งถูกรีโนเวทใหม่ มีลักษณะเหมือนบ้านเรือนในชนบทแบบดั้งเดิม โดยมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นแสดงศิลปะแบบดั้งเดิม, โบราณวัตถุทางวัฒนธรรม และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มีการสาธิตต่างๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อแสดงวิถีชีวิตของชาวภูฏานที่เคยดำรงมาหลายศตวรรษ
ที่โรงงานกระดาษทำมือ Jungshi คุณจะได้ชมการทำกระดาษจากธรรมชาติด้วยวิธีโบราณ โดยใช้เปลือกของพืชในท้องถิ่น 2 ชนิด (Daphne และ Dhekap) ช่างฝีมือจะสาธิตวิธีทำกระดาษดั้งเดิม Deh-sho ซึ่งคุณสามารถลองทำกระดาษของตัวเองเพื่อเป็นของฝากพิเศษได้ กระดาษทำมือจะถูกใช้โดยพระเพื่อเขียนบทสวดมนต์และการพิมพ์ลายแม่พิมพ์ไม้
การทอผ้าก็ถือเป็นศิลปะประจำชาติของภูฏาน ที่พิพิธภัณฑ์สิ่งทอแห่งชาติ คุณจึงสามารถเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับผืนผ้าสีสดใสและรูปแบบสวยงามซึ่งชาวภูฏานสวมใส่กัน เป็นพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระราชินี Jetsun Pema ที่ทรงทำให้ผ้าของภูฏานได้รับการเผยแพร่และถูกยกให้เป็นแฟชั่นชั้นสูงไปทั่วโลก เนื่องจากความสำคัญของรูปแบบศิลปะในการดำรงชีพนี้ รัฐบาลของภูฏานจึงได้พยายามรักษาและส่งเสริมวิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมให้คงอยู่
จากนั้นเราจะขับรถไปยังแหล่งอนุรักษ์ทาคิน Motithang ที่อาศัยของหนึ่งในสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะแปลกประหลาดที่สุดในโลก ทาคินเป็นสัตว์ที่อ่อนโยนแลดูคล้ายกวางมูส ซึ่งมักถูกกล่าวว่ารูปลักษณ์เหมือนโดยผึ้งต่อย แรกเริ่มที่นี่เป็นสวนสัตว์ขนาดเล็ก สมเด็จพระราชาธิบดีทรงประกาศว่ามิใช่แนวทางอันสมควรของพระพุทธศาสนาที่จะกักขังสัตว์ สัตว์เหล่านี้จึงถูกปล่อยสู่ป่า อย่างไรก็ตาม ทาคินพวกนี้ไม่ยอมย้ายออกไปและเริ่มเร่ร่อนไปตามถนนในเมืองเพื่อหาอาหาร แหล่งอนุรักษ์นี้จึงถูกจัดตั้งขึ้น และสัตว์ประจำชาติของภูฏานจึงได้รับการดูแลตามพระราชกฤษฎีกาในปัจจุบัน
เราจะจบวันด้วยการเยี่ยมชม Simtokha Dzong ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 1629 ที่นี่เป็นป้อมปราการแห่งแรกในลักษณะนี้ในภูฏาน และมีภาพจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนาอันงดงาม และงานแกะสลักจัดแสดงอยู่ภายใน Simtokha มีความหมายว่า “หินปีศาจ” และตำนานได้กล่าวว่าป้อมปราการนี้ถูกใช้เพื่อผนึกปีศาจที่อยู่ภายในก้อนหิน ซึ่งเคยสร้างความตื่นตระหนกไปทั้งภูมิภาค ปัจจุบัน ที่นี่เป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ Dzongkha ชั้นสูง อันเป็นภาษาราชการของภูฏาน ซึ่งทำการสอนโดยพระภิกษุ
Hotels: